จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

วัดไทยเจริญ
วัดไทยเจริญ บ้านบ้านจีน ตำบลไทยเจริญ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี



ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง
วัดสามัคคี
วัดสามัคคีวราราม หรือวัดสมุห์พร้อม ตั้งอยู่เลขที่ ๑๗ หมู่ที่ ๗ บ้านชุมชนสะพาน ๒ ถนนมิตรภาพ ตำบลทับกวาง อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ๑๘๒๖๐ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีเนื้อที่ตั้งวัด ๑๕ ไร่ ๒ งาน พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบติดริมถนนมิตรภาพ



ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง
วัดไทยบำรุง
ตำบลป่าแฝก จ.สุโขทัย




ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง
วัดเนินกระชาย
จังหวัด สุโขทัย




ในภาพอาจจะมี ต้นไม้, ต้นพืช และ สถานที่กลางแจ้ง
วัดเต่าทอง ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, ต้นไม้, ต้นพืช และ สถานที่กลางแจ้ง
จังหวัด สุโขทัย




พิพิธภัณฑ์วัดทุ่งเนินพยอม

ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง
วัดทุ่งเนินพยอม จังหวัด สุโขทัย
ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, ต้นไม้, สถานที่กลางแจ้ง และ ธรรมชาติ

วัดเขาสุกิม ต. เขาบายศรี อ. ท่าใหม่ จ. จันทบุรี

ในภาพอาจจะมี 3 คน, คนที่ยิ้ม, สถานที่ในร่ม

พระอุโบสถที่เป็นศิลปะแบบอยุธยา

พระอุโบสถที่เป็นศิลปะแบบอยุธยา
ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นวิหารเรียกว่า วิหารโยธานิมิตร เป็นที่เก็บโบราณวัตถุอย่างเช่น หนังสือโบลาน คัมภีร์เทศน์ และรอยพระพุทธบาทจำลอง นอกจากนี้ที่ฝาผนังยังมี
ภาพเขียนเรื่องราวพระเวสสันดรชาดก เป็นภาพจิตรกรรมที่ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ศึกษาเป็นอย่างยิ่ง




ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง

วัดสุวรรณบำรุงราษฎร์วราราม


วัดสุวรรณบำรุงราษฎร์วราราม
35 บ้านคลองเก้า หมู่ที่ 11 ถ.ลำลูกกา คลอง 9 ติดกรมการปกครอง ต.บึงทองหลาง ลำลูกกา ปทุมธานี 12150




ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง






วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม 

เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมชื่อ วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ภายหลังได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสวนดุสิตขึ้นพระองค์ทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดขึ้นใหม่และพระราชทานามว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อันหมายถึง วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕


ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง

วัดอินทรวิหาร ( วัดอินทร์ )

วัดอินทรวิหาร ( วัดอินทร์ ) อยู่บนถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้สี่แยกบางขุนพรหม คนละฝั่งกับธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นวัดที่มีมาก่อนสมัยรัตนโกสินทร์ เดิมเรียกว่า วัดบางขุนพรหมนอก การบูรณะครั้งสำคัญซึ่งทำให้ได้ชื่อว่าวัดอินทาราม คือ เมื่อรัชกาลที่๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานที่ดินในตำบลบางขุนพรหม ให้เป็นที่ตั้งบ้านเรือนของครอบครัวเชลยชาวเวียงจันทร์ เจ้าอินทร์ผู้เป็นน้าชายของเจ้าน้อยเขียวค่อมพระสนมเอก ได้บูรณะพระอารามขึ้นและนิมนต์เจ้าคุณพระอริญญิก พระสงฆ์ชาวเวียงจันทร์ที่อพยพมาด้วยกันขึ้นปกครองวัด




ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง

วัดก้ำก่อ จังหวัด แม่ฮ่องสอน

วัดก้ำก่อ จังหวัด แม่ฮ่องสอน

ทางขึ้นวัดพระธาตุดอยกองมู
วัดก้ำก่อ เป็นวัดประจำจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ใกล้กับ วัดพระนอน มีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจคือซุ้มประตูทางเข้า เป็นซุ้มประตูที่ยาวทอดเข้าไปในศาลา และหลังคาประดับด้วยปานซอยหรือลวดลายเจาะฉลุสังกะสี และมีเจดีย์แบบศิลปะมอญพม่า ตั้งอยู่ในบริเวณวัดนี้





ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง

วัดพระนอน

วัดพระนอน

บริเวณทางขึ้นวัดพระธาตุดอยกองมู
วัดพระนอน ตั้งอยู่บริเวณทางขึ้นวัดพระะธาตุดอยกองมู มีพระพุทธรูปปางบรรทมขนาดใหญ่ และบรเวณวัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจ คืออาคารเก่าแก่ แบบไทยใหญ่ และเจดีย์ขนาดเล็กตั้งอยู่บริเวณวัด



ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง

วัดหัวเวียง

วัดหัวเวียง

วัดหัวเวียง แต่เดิมมีชื่อเรียกว่าวัดกลางเวียง บริเวณวัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจคือ อาคารหรือวิหารที่ประดิษฐานของพระเจ้าพาราละแข่ง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่นำมาจากประเทศพม่า พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปที่ถอดประกอบได้ เพื่อความสะดวกในการนำมาโดยทางเรือในสมัยโบราณ ทางวัดจะเปิดให้นมัสการเฉพาะในวันพระ ส่วนอาคารหลังนี้ ที่น่าสนใจคือหลังคารูปโดม ประดับด้วยลวดลาย ปานซอย หรือสังกะสีแกะฉลุ ซึ่งเป็นลวดลายที่เป็นศิลปะเฉพาะของชาวไทยใหญ่ หรือเรียกว่า เป็นศิลปะพื้นบ้านของคนไต ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะพม่า


วัดหัวเวียง แต่เดิมมีชื่อเรียกว่าวัดกลางเวียง บริเวณวัดมีสถาปัตยกรรมที่น่าสนใจคือ อาคารหรือวิหารที่ประดิษฐานของพระเจ้าพาราละแข่ง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่นำมาจากประเทศพม่า พระพุทธรูปองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปที่ถอดประกอบได้ เพื่อความสะดวกในการนำมาโดยทางเรือในสมัยโบราณ ทางวัดจะเปิดให้นมัสการเฉพาะในวันพระ ส่วนอาคารหลังนี้ ที่น่าสนใจคือหลังคารูปโดม ประดับด้วยลวดลาย ปานซอย หรือสังกะสีแกะฉลุ ซึ่งเป็นลวดลายที่เป็นศิลปะเฉพาะของชาวไทยใหญ่ หรือเรียกว่า เป็นศิลปะพื้นบ้านของคนไต ที่ได้รับอิทธิพลจากศิลปะพม่า



ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง


วัดจองคำ วัดจองกลาง หนองจองคำ

วัดจองคำ วัดจองกลาง หนองจองคำ

บริเวณหนองจองคำ
วัดจองคำ และวัดจองกลาง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในบริเวณเดียวกัน เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมชม เนื่องจากอยู่ติดกับหนองจองคำ และใกล้กับบริเวณถนนคนเดิน ในวัดจองคำ มีเจดีย์ประดิษฐานไว้สวยงาม วัดจองคำตั้งอยู่บริเวณหนองจองคำ ส่วนบนวัดมีห้องพิพิธภัณฑ์แสดงหุ่นไม้โบราณ เป็นเรื่องเราวของพุทธประวัติและการใช้ชีวิตของคนสมัยโบราณ ศิลปะอีกอย่างหนึ่งที่สนใจของวัดนี้คือ การวาดภาพลงบนกระจก ซึ่งมีประดับไว้บนวัด



     ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, สถานที่กลางแจ้ง, ธรรมชาติ และ น้ำ

วัดพระธาตุดอยกองมู


วัดพระธาตุดอยกองมู
ที่ตั้ง บนยอดเขา ของเมืองแม่ฮ่องสอน ระยะทางจากถนนถึงยอดเขา ประมาณ 1.6 กิโลเมตร เป็นวัดที่นักท่องเที่ยวนิยมไปเยี่ยมชมมากที่สุด ทางขึ้นไปเยี่ยมชมเป็นถนนลาดยาง ระยะทางประมาณ 1.6 กิโลเมตร และมีบันไดนาคสำหรับนักท่องเที่ยวที่อยากจะเดินออกกำลัง มีบริเวณที่จอดรถ ในลานวัดด้านหลังและมีร้านกาแฟ ไว้คอยบริการ จุดนี้เอาไว้ชมพระอาทิตย์ยามเย็น ส่วนในบริเวณวัดเป็นที่ประดิษฐานของเจดีย์ศิลปะแบบมอญ โดยมีเจดีย์ 2 องค์ เจดีย์องค์ใหญ่สร้างโดย จองต่องสู่ เมื่อ พ.ศ. 2403 เป็นที่บรรจุพระธาตุของพระโมคคัลลานะเถระ ซึ่งนำมาจากประเทศพม่า ส่วนพระธาตุเจดีย์องค์เล็กสร้างเมื่อ พ.ศ. 2417 โดย พระยาสิงหนาทราชา เจ้าเมืองแม่ฮ่องสอนคนแรก บริเวณวัดพระธาตุดอยกองมู มีร้านขายของที่ระลึก และบริเวณชมวิวของเมืองแม่ฮ่องสอน จากจุดที่สูงที่สุดในเมืองแม่ฮ่องสอน จะมองเห็นเมืองแม่ฮ่องสอนไปจนถึงภูเขาอีกฝั่งหนึ่งของเมือง
   

ในภาพอาจจะมี หนึ่งคนขึ้นไป, ผู้คนกำลังยืน, ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง ถนนชยางกูร บ้านธาตุพนม ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนมจังหวัดนครพนม มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสก่อด้วยอิฐ กว้างด้านละ 12.33 เมตร สูง 53.6 เมตร มีกำแพงล้อมองค์พระธาตุ 4 ชั้น องค์พระธาตุตั้งอยู่บนภูกำพร้า(เนินดินสูงจากพื้นธรรมดาประมาณ 3 เมตร) ภายในบริเวณมีบึงขนาดใหญ่เรียกว่าบึงธาตุพนม ในวันเพ็ญเดือน 3 ถึง แรม 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปีจะมีงานประจำปีเพื่อเป็นการนมัสการพระธาตุพนม




ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง
     

พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ วัดทิพย์สุคนธาราม กาญจนบุรี

พระพุทธเมตตาประชาไทยฯ วัดทิพย์สุคนธาราม กาญจนบุรี



ในภาพอาจจะมี ผู้คนกำลังยืน, ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง

วัดท่าตอน

วัดท่าตอน 

วัดท่าตอนเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ได้รับการยกฐานะจากวัดราษฎร์เป็นพระอารามหลวง เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2534 ตั้งอยู่บนยอดเขาต่อเนื่องหลายลูก บนเนื้อที่ 425 ไร่ 2 งาน 95 ตารางวา แยกเป็นพื้นที่ตั้งวัดชั้นล่าง 45 ไร่ 2 งาน 28 ตารางวา และเป็นเขตอุทยานพุทธศาสนาและสำนักปฏิบัติธรรม 380 ไร่ 67 ตารางวา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชัน มีที่ราบริมแม่น้ำกก บริเวณหน้า มหาโพธิสัตว์กวนอิม และบริเวณลานวัด ซึ่งพระเจดีย์ประดิษฐานอยู่ เขตวัดทิศเหนือ จดแม่น้ำกก และไร่นาของชาวบ้าน ทิศตะวันออกและทิศใต้ จดเขตบ้านหลายหลัง และทิศตะวันตกจดป่าสงวนแห่งชาติ




                                        ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง

วัดไกลกังวล

วัดไกลกังวล


เป็นวัดราษฎร์ สังกัดนิกาย มหานิกาย ตั้งอยู่บนเขาสารพัดดี บ้านไร่สวนลาว เลขที่ ๑๔๕ หมู่ที่ ๗ ตำบลบ้านเชี่ยน อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ๑๗๑๓๐ด้านตะวันตกติดกับเขาดินสอ ถัดจากเขาดินสอมาทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นเขาหนองสอด ด้านเหนือเป็นหมู่บ้านบ้านไร่สวนลาว ส่วนทางทิศตะวันออก เป็นหมู่บ้านหนองทาระกู และคลองชลประทานอู่ทอง – มะขามเฒ่า บรรยากาศร่มรื่นไปทั้งภูเขามีต้นไม้นานาพันธุ์ ทั้งที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติและปลูกขึ้นภายหลัง มีรั้วรอบขอบชิดด้วยกำแพงคอนกรีตถาวรสูง ๓.๗๐ เมตร ยาวรอบภูเขา ๕ กิโลเมตร ซึ่งนับว่า เป็นกำแพงวัดที่ยาวที่สุด และมีกำแพงล้อมป่าปลูกด้านทิศเหนืออีกราว ๒ กิโลเมตร


ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า, บ้าน, ต้นไม้ และ สถานที่กลางแจ้ง
          

วัดใหญ่นครชุมน์

วัดใหญ่นครชุมน์

วัดใหญ่นครชุมน์ ตั้งอยู่ในชุมชนชาวมอญ เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ ณ หมู่ที่ 6 ต.นครชุมน์ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายรามัญ ซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย เมื่อหลายร้อยปีก่อน นับจากปี พ.ศ. 2081-2084 ซึ่งตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราชาธิราช แห่งกรุงศรีอยุธยา นอกจากนี้ยังมีการเดินทางเข้ามาอีกหลายระลอก ในช่วงสมัยอยุธยา ธนบุรี จนถึงต้นรัตนโกสินทร์ อพยพเข้ามาจากเมืองหงสาวดีประเทศพม่า เข้ามาพึ่งบรมโพธิสมภาร มารวมอยู่เป็นกลุ่มใหญ่ประกอบอาชีพสุจริต ดำเนินชีวิตอย่างสงบราบเรียบ และใฝ่ธรรมป็นปกตินิสัยของชนชาติมอญ






ในภาพอาจจะมี ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง

วัดราชนัดดารามวรวิหาร

วัดราชนัดดารามวรวิหาร
เลขที่ 70 ถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพ






ในภาพอาจจะมี สถานที่กลางแจ้ง

วัดเทพธิดารามวรวิหาร

วัดเทพธิดารามวรวิหาร
เลขที่ 70 ถนนมหาไชย แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพ




ในภาพอาจจะมี เมฆ, ท้องฟ้า และ สถานที่กลางแจ้ง